ฝึกให้เจ้าตัวน้อยรับมือกับการบ้านออนไลน์

17 สิงหาคม 2022

ในตอนนีเจ้าตัวเล็กในบ้านของหลายๆคน อยู่ในช่วงของการเรียนแบบ Online เป็นหลัก ดังนั้นสิ่งที่ตามมาไม่ขาดหายไปไหนได้เลยก็คือ “การบ้าน” กองพะเนินเทินทึกแน่ๆ เมื่อเจ้าตัวเล็กได้การบ้านแบบเยอะมากมายสิ่งที่ตามมาก็คือ ความไม่เข้าใจในการบ้านและความสงสัย ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเรา คุณพ่อคุณแม่ ที่จะเป็นฮีโร่ในครั้งนี้

แต่จะให้ทำแทนเด็กๆเลยก็ไม่ได้ใช่ไหมละ คุณครูรู้จะแย่เอาที่สำคัญคือน้องๆไม่ได้ทบทวนสิ่งที่ตัวเองเรียนมาด้วย ลาล่าคิดว่ามีวิธีดีๆที่สามารถทำให้เด็กๆสามารถทำการบ้านไปได้ด้วยดี โดยที่เราเริ่มง่ายๆจาก

  1. อ่านงานที่คุณครูสั่งอย่างละเอียด ทำความเข้าใจ และเตรียมตอบคำถามเด็กๆที่อาจจะสงสัย
  2. ตรวจงานที่เด็กๆทำ คร่าวๆ ถ้าผิดพลาดลองให้ลูกน้อยทบทวนเนื้อหาและลองทำอีกครั้งโดยเราคอยสังเกตุใกล้ๆ
  3. ลองเปลี่ยนการบ้านที่วุ่นวาย แปลงให้เป็นเกมส์สนุกๆดูไหม? เช่น การบ้านภาษาอังกฤษที่มักจะเป็นการท่องศัพท์ ก็ทำให้เป็นเกมทายคำจากภาพสนุกๆไปเลย

ทำให้เป็นเกมทายคำจากภาพสนุกๆไปเลย และยังมีวิธีสนุกๆอีกมากมายที่ลาล่าคิดว่า สามารถทำให้เจ้าตัวเล็กของเราสนุกไปกับการบ้านในช่วงนี้ค่าาา แล้วพบกันใหม่นะ ที่คิดส์ซูน่า! สำหรับเว็บ

ท่ามกลางช่วงเวลาของ COVID19 แบบนี้ โรงเรียนของเด็กในบ้านของหลายๆคน คงอยู่ในช่วงของการเรียนแบบ Online เป็นหลัก ดังนั้นสิ่งที่ตามมาไม่ขาดหายไปไหนได้เลยก็คือ “การบ้าน” กองพะเนินเทินทึกแน่ๆ เมื่อเจ้าตัวเล็กได้การบ้านแบบเยอะมากมายสิ่งที่ตามมาก็คือ ความไม่อยากทำการบ้าน และ ความไม่เข้าใจในการบ้านและความสงสัย ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเรา คุณพ่อคุณแม่ ที่จะเป็นฮีโร่ในครั้งนี้

สำหรับเรื่องเด็กน้อยไม่อยากทำการบ้านนั้นเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว และเป็นสิ่งที่ควรจะแก้ไข ในฐานะที่เราเป็นผู้ครองจะดำเนินการอย่างไรดี? ปัญหานี้มีวิธีจัดการง่ายๆดังนี้เลย

1. มี “มุมทำการบ้าน”

จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะแก่การทำการบ้าน มีโต๊ะ มีเก้าอี้ มีอุปกรณ์เครื่องเขียนที่จำเป็น และที่สำคัญไม่มีสิ่งที่จะมารบกวนสมาธิของเขา เช่นโทรทัศน์ เครื่องเล่นเกม ของเล่นเสริมพัฒนาการ คอมพิวเตอร์ (ในกรณีเด็กโตที่ต้องทำงานในคอมนั้นจะเป็นอีกกรณีหนึ่ง) และอื่น ๆ

…ที่สำคัญคนรอบตัวเขาไม่ควรรบกวนด้วยเช่นกัน เช่น ถ้ามีน้องเล็กเล่นอยู่ในบริเวณนั้น เด็กอาจจะไม่อยากทำการบ้าน เพราะอยากไปเล่นกับน้องมากกว่า หรือ คุณพ่อกลับมาเปิดโทรทัศน์ดูข่าวในขณะที่เขาทำการบ้านอาจจะไม่เหมาะสม เด็กจึงควรมีมุมสงบสำหรับทำการบ้านของเขา…

2. มี “กติกา” ชัดเจน + ผู้ใหญ่ที่ใจดี แต่ไม่ใจอ่อน

ควรตั้งกติการกันไว้ก่อนไปโรงเรียนว่า “การบ้าน” คือ หนึ่งในสิ่งที่เขาต้องทำ (ถ้ามี) และถ้าการบ้านเสร็จ เขามีสิทธิ์เลือกทำกิจกรรมที่ชอบได้หลังจากนั้น โดยต้องทำการเสร็จก่อนจึงจะได้ทำกิจกรรมนั้น (ไม่มีข้อแม้ เพื่อฝึกให้เขาเรียงลำดับความสำคัญก่อน – หลัง และวินัยความรับผิดชอบ) ตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบ้านว่าจะตกลงกันอย่างไร ซึ่งในทางกลับกันถ้าเด็กไม่ยอมทำการบ้าน หรือทำการบ้านไม่เสร็จก็มีผลตามมาเช่นกัน เช่น อาจจะถูกงดกิจกรรมที่ชอบ

…โดยข้อนี้จะสำเร็จได้ถ้าผู้ใหญ่ทุกคนในบ้านปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้ามีคนใดคนหนึ่งไม่ทำตามกติกา เด็กจะเรียนรู้ว่า เขาอยู่กับคนนี้เขาไม่ต้องทำตามกติกาก็ได้ หรือ เด็กจะเรียนรู้ว่าเราไม่ได้เอาจริงเสียหน่อย กติกาจะไม่เป็นกติกาอีกต่อไป เพราะเป็นได้เพียงคำบ่นของผู้ใหญ่เพียงคนเดียวในบ้านเท่านั้น…

3. มี “ผู้ใหญ่เคียงข้าง” ให้อุ่นใจ

พ่อหรือแม่ (หรือผู้ใหญ่) สักคนหนึ่ง ควรเริ่มด้วยการชวนเขาทำการบ้านไปด้วยกัน ระหว่างที่เขาทำการบ้าน เราอาจจะนั่งสังเกตอยู่ห่าง ๆ อาจจะนั่งใกล้ ๆ แต่เราก็ทำงานของเราไปพร้อมกับเขา เพื่อว่า ถ้าเด็กสงสัยอยากถาม เราจะสามารถช่วยเหลือเขาได้ทันที

แต่จะให้ทำแทนเด็กๆเลยก็ไม่ได้ใช่ไหมละ คุณครูรู้จะแย่เอาที่สำคัญคือน้องๆไม่ได้ทบทวนสิ่งที่ตัวเองเรียนมาด้วย ลาล่าคิดว่ามีวิธีดีๆที่สามารถทำให้เด็กๆสามารถทำการบ้านไปได้ด้วยดี โดยที่เราเริ่มง่ายๆจาก

1. อ่านงานที่คุณครูสั่งอย่างละเอียด ทำความเข้าใจ และเตรียมตอบคำถามเด็กๆที่อาจจะสงสัย

2. ตรวจงานที่เด็กๆทำ คร่าวๆ ถ้าผิดพลาดลองให้ลูกน้อยทบทวนเนื้อหาและลองทำอีกครั้งโดยเราคอยสังเกตุใกล้ๆ

3. ลองเปลี่ยนการบ้านที่วุ่นวาย แปลงให้เป็นเกมส์สนุกๆดูไหม? เช่น การบ้านภาษาอังกฤษที่มักจะเป็นการท่องศัพท์ ก็ทำให้เป็นเกมทายคำจากภาพสนุกๆไปเลย

และยังมีวิธีสนุกๆอีกมากมายที่ลาล่าคิดว่า สามารถทำให้เจ้าตัวเล็กของเราสนุกไปกับการบ้านในช่วงนี้ได้นั้นเอง

แล้วเมื่อไหร่หล่ะที่เราช่วยเหลือเด็กๆมากเกินไป สิ่งนั้นสังเกตุได้ง่ายมาก เมื่อการบ้านทั้งหลายเสร็จทั้งๆที่อยู่ในมือคุณพ่อคุณแม่เอย เมื่อคุณนั่งและให้เด็กๆเขียนตามไป และเมื่อน้องๆไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับงานที่ตัวเองทำแม้แต่นิดเดียวเลย ให้เริ่มต้นจากเปลี่ยนตัวเองให้เป็น “ผู้สนับสนุน” ของเด็กๆ และให้เด็กๆกล้าที่จะรับกับความผิดพลาดในงาน โดยที่เราคอยดูห่างๆ และ ให้เขาฝึกจัดการกับความบกพร่องของงานนั้นๆ

สถานที่แนะนำ