การฝึกพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยนั้นแตกต่างจากวัยอื่น ในช่วงอายุอื่นจะให้ความสำคัญกับทักษะการคิดคำนวณเป็นหลัก แต่สำหรับเด็กปฐมวัยจะไม่ได้สอนเรื่องการคำนวณก่อน แต่จำเป็นต้องสอนเรื่องความแตกต่างระหว่างสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมด้วย
ครูและผู้ปกครองควรจำไว้ว่า “ทักษะทางคณิตศาสตร์ไม่ใช่ทักษะทางการคำนวณเพียงอย่างเดียว” เมื่อสอนทักษะคณิตศาสตร์ให้กับเด็กในวัยนี้ เด็กปฐมวัยเรียนรู้การกระทำที่เรียกว่า “การคาดคะเน” และ “การแก้ปัญหา” เมื่อพวกเขาเกิดมาและเจอกับปัญหาทางคณิตศาสตร์เป็นครั้งแรก
การส่งเสริมให้เด็ก ๆ ได้คิดด้วยตัวเองอย่างอิสระเป็นครั้งแรกในชีวิต โดยตั้งอยู่ในความสมเหตุสมผล เนื่องจากเด็ก ๆ ในวัยนี้เรียนรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสการรับรู้และการเคลื่อนไหว ดังนั้นเด็ก ๆ จำเป็นต้องเรียนรู้อย่างมีความสุขผ่านทางสื่อที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม การส่งเสริมพัฒนาการทางการเรียนรู้ช่วยให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยกระตุ้นให้เด็ก ๆ ได้คิดและลงมือปฏิบัติจริง เด็ก ๆ ที่เรียนคณิตศาสตร์คงจะกลายเป็นคนที่คิดด้วยตัวเองก่อนแล้วจึงลองปฎิบัติจริงในอนาคต
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตที่ควรฝึกให้กับเด็กปฐมวัยมีดังต่อไปนี้
1.การจำแนกประเภท
ของเล่นเสริมพัฒนาการ จะช่วยฝึกฝนให้เด็ก ๆ รู้จักสังเกตสิ่งต่าง ๆ ว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร จากนั้นจึงจัดประเภท ตัวอย่างเช่น ให้เด็กแยกความแตกต่างระหว่างสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และวงกลม การวิเคราะห์เป็นการมองหาความแตกต่างและเป็นพื้นฐานของการคิดเชิงตรรกะทั้งหมด
2.การจับคู่และจัดหมวดหมู่
การฝึกฝนให้เด็ก ๆ ได้รู้จักสังเกตลักษณะต่าง ๆ และจับคู่สิ่งที่เหมือนกันให้อยู่ประเภทเดียวกัน ตัวอย่างเช่น การเล่นเก็บเฉพาะบล็อกสามเหลี่ยม หรือจะเลือกฝึกเก็บเฉพาะปากกาสีแดงก็ทำได้เช่นกัน การจัดห้องสามารถทำได้โดยการจัดกลุ่มของของที่กระจัดกระจัดรวมเข้าด้วยกัน
3.การเรียงลำดับ
การจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ตามคำสั่งหรือกฎ เช่น ให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำหรือจากสั้นไปยาว เด็ก ๆ จะเรียนรู้ว่าโลกนี้มีความแตกต่างทางกายภาพผ่านการจัดหมวดหมู่
4.การเปรียบเทียบ
การที่เด็ก ๆ จะต้องหาและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของ 2 สิ่งหรือมากกว่า เด็ก ๆ จะต้องค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างของ 2 สิ่งขึ้นไปและจำเป็นต้องจัดการได้อย่างถูกต้อง รวมไปถึงสอนให้รู้จักการใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า เป็นต้น เด็ก ๆ จะได้รับการเพิ่มทักษะการคิดเชิงนามธรรมผ่านการเปรียบเทียบ
5.รูปทรง
การให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความแตกต่างของรูปร่าง ผ่านการสัมผัสของเล่นและสิ่งของต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว ได้รู้จักรูปทรงต่าง ๆ เช่น วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า วงรี เป็นต้น และช่วยให้เด็ก ๆ เพลิดเพลินกับการเรียนรู้รูปทรงที่ค่อยๆ ซับซ้อนขึ้นโดยใช้ของเล่น เช่น บล็อกไม้และจิ๊กซอว์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจของเด็ก ๆ
6. การชั่งตวงวัด
การให้เด็ก ๆ ได้วัดด้วยตนเอง ช่วยให้รู้จักความกว้าง ความยาว ระยะ การชั่ง การตวง น้ำหนักและรู้จักการประมาณ ทำความคุ้นเคยกับเครื่องมือที่ใช้งานได้จริง เช่น ตลับเมตร เครื่องชั่ง และไม้บรรทัดของเล่น ทักษะนี้จำเป็นสำหรับการทำอาหารของเด็ก ๆ ด้วย
7.การนับ
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็ก ๆ รู้จักคือการนับตามลำดับตั้งแต่ 1 – 10 หรือมากกว่านั้น นี่เป็นสิ่งที่มีความแตกต่างของความเร็วในการเรียนรู้แต่ละคนเป็นอย่างมาก นี่เป็นทักษะที่สำคัญที่สุดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ กรุณาสอนอย่างระมัดระวัง ถ้าสอนวิธีนับจำนวนสัตว์และสิ่งของด้วยจะเป็นความรู้ที่มีประโยชน์มากขึ้นอีก
8. การรู้จักตัวเลข
การให้เด็ก ๆ ได้รู้จักตัวเลขที่มองเห็น หรือใช้ในชีวิตประจำวัน ให้เล่นของเล่นที่เกี่ยวกับตัวเลข ให้ลองนับและคิดเอง ซึ่งอาจมีการเปรียบเทียบแทรกเข้าไปด้วย เช่น มากกว่า น้อยกว่า เป็นต้น เรียนรู้พื้นฐานของการบวกและการลบด้วยของเล่นมากมาย เป็นความรู้สำคัญที่จะนำไปสู่คณิตศาสตร์ขั้นสูงในอนาคตได้
9.เวลา
ทักษะการอ่านนาฬิกามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็กปฐมวัย การเรียนให้รู้จักเวลาอย่างง่าย ๆ ผ่านนาฬิการ เช่น เรื่องเข็มสั้นบอกชั่วโมง เข็มยาวบอกนาที และตัวเลข 1 – 12 นี่เป็นทักษะที่จำเป็นก่อนเข้าเรียนในโรงเรียนอย่างแน่นอน ความคิดเรื่องการตรงต่อเวลาและการเคลื่อนไหวที่ฉับไวเป็นสิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้หาไม่มีทักษะเรื่องเวลา
สรุป
สิ่งที่ทำให้เด็ก ๆ สนใจคณิตศาสตร์ก็คือของเล่นทางคณิตศาสตร์ ความอยากรู้อยากเห็นของเด็กๆ นั้นยิ่งใหญ่มาก หากเด็ก ๆ ได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง และจากการใช้สื่อการสอนที่จับต้องได้ จะช่วยพัฒนาทักษะทางการคิด และความสามารถด้านต่าง ๆ ได้
หากไม่มีตัวเลขก็จะไม่เกิดการจัดการขึ้น เด็ก ๆ เรียนรู้การจัดการตนเองโดยการเรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ และแน่นอนว่าต้องใช้ตัวเลขในการจัดการเรื่องน้ำหนักและการจัดการเงินในกระเป๋าด้วย ทักษะทางคณิตศาสตร์ช่วยให้เด็ก ๆ ก้าวขึ้นบันไดของชีวิตที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ไปทีละขั้น ๆ
เด็ก ๆ จะเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ตรง ได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวในชีวิตประจำวัน หรือการจัดกิจกรรมของครูและผู้ปกครอง โดยเลือกการเรียนรู้ให้เหมาะสมเพื่อให้สามารถพัฒนาทักษะของเด็ก ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด